การออกแบบและการพัฒนา ของ แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2

ห้องนักบินของเอฟ-4 แฟนท่อม 2

ต้นกำเนิด

ในปีพ.ศ. 2495 หัวหน้าด้านอากาศพลศาสตร์ของแมคดอนเนลล์ เดวิด เอส ลีวิส ได้ถูกแต่งตั้งโดย จิม แมคดอนเนลล์ ให้เป็นผู้จัดการในการออกแบบของบริษัท[19] เมื่อไม่มีเครื่องบินลำใดเข้าแข่งขัน ทางกองทัพเรือมีความต้องการเครื่องบินแบบใหม่อย่างมาก คือ เครื่องบินขับไล่โจมตี[20]

ในปีพ.ศ. 2496 แมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์เริ่มทำการปรับปรุงเอฟ 3 เอช ดีมอนเพื่อขยายขีดความสามารถและการทำงานที่ดีขึ้น บริษัทฯ ได้สร้างโครงการมากมายรวมทั้งแบบที่ใช้เครื่องยนต์ไรท์ เจ 67[21] และไรท์ เจ 65 สองเครื่อง หรือเครื่องยน์เจเนรัล อิเลคทริก เจ 79 สองเครื่อง[22] รุ่นที่ใช้ เจ 79 ได้แสดงให้เห็นถึงความเร็วสูงสุดที่ 1.97 มัค เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2496 แมคดอนเนลล์ตรงเข้าหากองทัพเรือสหรัฐฯ พร้อมข้อเสนอสำหรับซูเปอร์ดีมอน ด้วยความไม่เหมือนใครเครื่องบินลำนี้สามารถใช้ได้หนึ่งหรือสองที่นั่งสำหรับภารกิจที่แตกต่างกันไป มีเรดาร์ กล้องถ่ายภาพ ปืนใหญ่ขนาด 20 ม.ม.สี่กระบอกหรือจรวดไม่วำวิถี 56 ลูกในเก้าตำบลทั้งใต้ปีกและใต้ลำตัว กองทัพเรือให้ความสนใจอย่างมากเพื่อเติมเต็ม เอฟ 3 เอช/จี/เอช แต่ก็รู้สึกว่ากรัมแมน เอ็กซ์เอฟ 9 เอฟ-9 และวอท เอ็กซ์เอฟ 8 ยู-1 ที่กำลังมาก็มีความเร็วเหนือเสียงอยู่แล้ว[23]

แบบของแมคดอนเนลล์ได้ถูกทำใหม่ให้เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีทุกสภาพอากาศพร้อมที่ติดตั้งอาวุธ 11 ตำบล และในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2497 บริษัทฯ ได้รับจดหมายที่แสดงความสนใจต้นแบบวายเอเอช-1 สองลำ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 นายทหารสี่นายจากกองทัพเรือได้มาถึงที่สำนักงานแมคดอนเนลล์ และภายในหนึ่งชั่วโมง พวกเขาได้แสดงความต้องการใหม่ทั้งหมดต่อบริษัทฯ เพราะว่ากองทัพเรือมีเครื่องเอ-4 สกายฮอว์คสำหรับการโจมตีภาคพื้นดิน และเอฟ-8 ครูเซเดอร์ สำหรับการต่อสู้ทางอากาศอยู่แล้ว โครงการจึงเปลี่ยนมาเพื่อเติมเต็มความต้องการเครื่องบินสกัดกั้นในทุกสภาพอากาศแทน โดยใช้ลูกเรือสองนายในการใช้เรดาร์ที่ทรงพลัง[2]

ต้นแบบ เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1

เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 ถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกขีปนาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์เอเอเอ็ม-เอ็น-6 สแปร์โรว์ 3 และใช้เครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-8 สองเครื่องยนต์ เช่นเดียวกับเอฟ-101 วูดูที่เครื่องยนต์อยู่ในระดับต่ำเพื่อเพิ่มความจุของเชื้อเพลิงและตักอากาศเข้าสู่ช่องรับลม ปีที่บางทำมุม 45° และติดตั้งระบบควบคุมสำหรับเพิ่มการควบคุมความเร็วในระดับต่ำ[24]

การทดสอบในอุโมงค์ลมได้เผยให้เห็นความไม่สเถียรที่ต้องการมุมปีกเพิ่มอีก 5°[25] เพื่อหลีกเลี่ยงการออกแบบใหม่ วิศวกรของแมคดอนเนลล์ได้เพิ่มมุมขึ้นอีก 12° ซึ่งเฉลี่ยแล้วก็เท่ากับ 5° ของปลายปีกทั้งสอง นอกจากนั้นปีกยังได้รับส่วนที่เรียกว่าเขี้ยวสุนัข (dogtooth) สำหรับเพิ่มมุมปะทะ ส่วนหางของเครื่องบินทั้งหมดถูกเลื่อนเพิ่มทำมุม 23° เพื่อให้ทำมุมปะทะได้ในขณะที่หางเองไม่ไปบังท่อไอเสีย[24] นอกจากนี้ที่รับลมถูกติดตั้งเข้าไปพร้อมส่วนลาดเอียงที่เคลื่อนที่ได้เพื่อควบคุมทิศทางการไหลเวียนของอากาศสู่เครื่องยนต์ในความเร็วเหนือเสียง ความสามารถในการเข้าสกัดกั้นทุกสภาพอากาศนั้นมาจากเรดาร์แบบ เอเอ็ม/เอพีคิว 50 เพื่อทำงานบนเรือบรรทุกเครื่องบินอุปกรณ์ลงจอดจึงได้ติดตั้งลงไปพร้อมอัตราจม 23 ฟุตต่อวินาที ในขณะที่ส่วนจมูกยืดอีก 20 นิ้ว (50 ซ.ม.) เพื่อเพิ่มมุมปะทะตอนวิ่งขึ้น[25]

การตั้งชื่อ

ตอนแรกนั้นมีการเสนอชื่อให้ เอฟ 4 เอช เป็น"ซาตาน"และ"มิธราส"เทพแห่งแสงของเปอร์เซีย[26] สุดท้ายเครื่องบินก็ได้ชื่อ"แฟนท่อม 2" แฟนทอมแรกนั้น คือ เครื่องบินไอพ่นอีกแบบของแมคดอนเนลล์ คือเอฟเอช แฟนทอม แฟนท่อม 2 ถูกใช้ชื่อเอฟ-110 เอ และ"สเปกเตอร์"โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในระยะหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้ใช้อย่างจริงจัง[27]

การทดสอบต้นแบบ

ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2498 กองทัพเรือได้สั่งซื้อ เอ็กซ์เอฟ 4 เอช-1 สำหรับทดสอบจำนวนสองลำ และ วายเอฟ 4 เอช-1 ห้าลำ ที่เป็นการสั่งซื้อก่อนการผลิต แฟนทอมทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 พร้อม โรเบิร์ต ซีลิตเติล ผู้ควบคุม ปัญหาไฮดรอลิกของล้อลงจอดนั้นปรากฏขึ้นแต่ก่อนบินเที่ยวต่อๆ มาก็ราบรื่น การทดสอบก่อนหน้าทำให้เกิดการออกแบบช่องรับลมใหม่ รวมทั้งช่องปล่อยลมบนแผ่นลาด และไม่นานเครื่องบินก็เตรียมแข่งกับเอ็กซ์เอฟ 8 ยู-3 ครูเซเดอร์ 3 เนื่องมาจากปริมาณที่ทำงานได้ กองทัพเรือต้องการเครื่องบินสองที่นั่งและในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เอฟ 4 เอช ถูกประกาศว่าเป็นผู้ชนะ ความล่าช้าของเครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-8 หมายความว่าเครื่องบินในการผลิตครั้งแรกใช้เครื่องยนต์ เจ 79-จีอี-2 และ -2เอ แทน ซึ่งแต่ละเครื่องให้กำลัง 16,100 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย ในปีพ.ศ. 2503 แฟนทอมเริ่มทำการทดสอบความเหมาะสมกับเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์[25]

การผลิต

เอฟ-4ซี เติมเชื้อเพลิงจาก เคซี-135 แทงค์เกอร์ ก่อนที่จะเข้าโจมตีฝ่ายเวียดนามเหนือ แฟนทอมบรรทุกระเบิดทั่วไปขนาด 750 ปอนด์ ขีปนาวุธสแปร์โรว์ และถังเชื้อเพลิงด้านนอก

ในการผลิตช่วงแรกเรดาร์ถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นแบบ เอเอ็น/เอพีคิว-72 และห้องนักบินถูกดัดแปลงเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย และทำให้ห้องนักบินส่วนหลังมีพื้นที่มากขึ้น[28] แฟนทอมประสบกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้มีแบบต่างๆ จำนวนมาก

กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้รับแฟนท่อมตามที่รัฐมนตรีกลาโหม โรเบิร์ต แมคนามาราได้ผลักดันให้มีการสร้างเครื่องบินที่เหมาะกับทุกกองทัพ หลังจากที่ เอฟ-4 บี ได้ชัยชนะใน"ปฏิบัติการไฮสปีด" (Operation Highspeed) เหนือคู่แข่งที่เป็นเอฟ-106 เดลต้า ดาร์ท กองทัพอากาศจึงได้ยืม เอฟ-4 บี ของกองทัพเรือมาสองลำ และใช้ชื่อว่าเอฟ-110 เอ สเปกเตอร์ชั่วคราวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2505 และได้เพิ่มความต้องการในแบบของพวกเขาเอง แฟนทอมไม่เหมือนกับของกองทัพเรือ ตรงที่กองทัพอากาศนั้นเน้นไปที่บทบาททิ้งระเบิด ด้วยการรวมชื่อของแมคนามาราเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 แฟนทอมได้กลายมาเป็น เอฟ-4 โดยที่กองทัพเรือเรียกมันว่า เอฟ-4 บี และกองทัพอากาศเรียกว่า เอฟ-4 ซี แฟนทอมของกองทัพอากาศทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 โดยทำความเร็วได้ 2 มัค ในการบินครั้งนั้น[29]

การผลิตแฟนท่อม 2 ในสหรัฐฯ สิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2522 หลังจากที่ผลิตออกมาได้ 5,195 ลำ (5,057 ลำผลิตโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส และ 138 ลำผลิตโดยมิตซูบิชิในญี่ปุ่น) ทำให้เป็นเครื่องบินอันดับสองที่ส่งออกและผลิตออกมามากที่สุดรองจากเอฟ-86 เซเบอร์ที่ยังคงเป็นเครื่องบินไอพ่นที่มีจำนวนมากที่สุดของสหรัฐฯ โดยมีจำนวน 2,874 ลำเป็นของกองทัพอากาศ 1,264 ลำเป็นของกองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐฯ และของลูกค้าต่างชาติ[30] เอฟ-4 ลำสุดท้ายที่สร้างโดยสหรัฐฯ เป็นของตุรกี ในขณะที่ เอฟ-4 ลำท้ายสุดเสร็จในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งเป็นของอุตสาหกรรมมิตซูบิชิญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2551 มีแฟนทอม 631 ลำยังคงอยู่ในประจำการทั่วโลก</ref>[31] ในขณะที่แฟนทอมยังคงถูกใช้เป็นโดรนโดยกองทัพสหรัฐฯ

ใกล้เคียง

แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-15 อีเกิล แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2 แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-90 แมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 แมคดอนเนลล์ดักลาส แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-12 แมคดอนเนลล์ ดักลาส วายซี-15

แหล่งที่มา

WikiPedia: แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2 http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/ http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/bl... http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/bl... http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/fi... http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/fi... http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/im... http://www.boeing.com/defense-space/military/f4/in... http://www.flightglobal.com/assets/getasset.aspx?I... http://www.kalaniosullivan.com/KunsanAB/OtherUnits... http://www.hq.nasa.gov/pao/History/SP-468/cover.ht...